ปัจจุบันนอกจากข้าวที่เป็นอาหารหลักของคนไทยแล้ว ก็ยังมีกลุ่มอาหารอย่างอาหารสด เช่น ผัก เนื้อสด แล้วก็ยังมีกลุ่มอาหารอย่าง เบเกอรี่ (Bakery) โดยเฉพาะขนมปัง ในรูปแบบต่างๆ ที่คนในเมืองและทั่วประเทศหันมาบริโภคกันมากขึ้น เพราะชีวิติการทำงานที่เร่งรีบ การจะนั่งกินข้าวหรือทำอาหารในช่วงเช้าอาจจะไม่ใช่วิธีที่สะดวกมากนัก แต่ด้วยสินค้าอย่างกลุ่มเบเกอรี่ตอนนี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มทุนใหญ่ แล้วคนที่อยากจะเริ่มต้นทำธุรกิจนี้ต้องเริ่มต้นอย่างไร แล้วการส่งออก เบเกอรี่ไปต่างประเทศนั้นเป็นเรื่องยากหรือไม่ วันนี้ Thai Bakery จะพาทุกท่าน มาทำความรู้จักและขั้นตอนต่างๆ ในการส่งออกไปต่างประเทศกันว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

การส่งออกเบเกอรี่ต้องทำอย่างไร ?
การประกอบธุรกิจส่งออกเบเกอรี่ มีสิ่งที่สำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงอยู่
4 ประการ ได้แก่
1. ความพร้อมของผู้ส่งออก
2. การทำสัญญา
3. การชำระเงิน
4.ขั้นตอนการส่งออก
โดยผู้ประกอบที่จะเข้าสู่ธุรกิจส่งออกควรพิจารณาที่ตลาดหรือสินค้าก่อน ส่วนผู้ส่งออกที่เป็นผู้ผลิตและมีสินค้าพร้อมอยู่แล้วก็จะพิจารณาในส่วนของการมุ่งหาตลาดที่เหมาะสมกับสินค้าที่ผลิตโดยไม่ต้องพิจารณาเลือกสินค้าอีก แล้วจึงมาพิจารณาเกี่ยวกับการทำสัญญา การชำระเงิน และขั้นตอนทางศุลกากร
1. ความพร้อมของผู้ส่งออกและการจัดการ
(Readiness of The Exporter and Management)
ผู้ส่งออกเบเกอรี่จะต้องมีความพร้อมที่จะดำเนินธุรกิจส่งออกในด้านต่างๆ ดังนี้
1.1 ด้านการเงินและงบประมาณในการทุน
โดยพิจารณาว่าต้นทุนของเงินทุนที่ธุรกิจใช้อยู่สูงมากน้อยเพียงไร สามารถแบกภาระได้มากน้อยแค่ไหน โดยเมื่อเปรียบเทียบแล้วคุ้มกับการลงทุนหรือไม่
1.2 ด้านสถานที่ดำเนินการ
เป็นการพิจารณาเกี่ยวกับสำนักงานเครื่องมือ อุปกรณ์ตลอดจนการกำหนดแนวทางว่าจะดำเนินธุรกิจประเภทใด เป็นการกำหนดประเภทและเป้าหมายของกิจการให้ชัดเจน
1.3 ด้านบุคลากร
กิจการต้องมีพนักงานที่มีความเหมาะสมกับตำแหน่ง และมีจำนวนที่เพียงพอกับปริมาณของงาน
1.4 การสร้างความเชื่อถือ และทำความรู้จักลูกค้า
นับว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากประเด็นหนึ่ง เพราะการดำเนินธุรกิจมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างความรู้จัก และความเชื่อถือแก่ผู้ซื้อในตลาดต่างประเทศ เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือและเพิ่มความร่วมมือกันในการทำธุรกิจอีกด้วย
1.5 ประเมินกำลังผลิต และความสามารถในการส่งออก
ควรจะพิจารณาสินค้าก่อน ประเมินว่าสินค้าใดเป็นสินค้าที่กิจการสามารถส่งออกได้ โดยประเมินกำลังการผลิตโดยรวมของกิจการ หากเกิดการสั่งซื้อที่มากกว่ากำลังผลิตแล้ว ไม่สามารถผลิตได้ หรืออาจผลิตได้แต่คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ก็จะทำให้เกิดปัญหากับลูกค้า ซึ่งจะนำไปสู่การปฎิเสธการยอมรับของลูกค้าได้
2. การทำสัญญาซื้อขาย (Sale Contract)
เมื่อมีการเสนอราคาและตกลงกันเรียบร้อยแล้ว ก็จะถึงขั้นตอนการนำสัญญาซื้อขาย โดยผู้ซื้อและผู้ขาย หรือโดยตัวแทนของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งโดยปกติจะมีขั้นตอนดังนี้
1. Proforma Invoice เป็นเอกสารที่ผู้ขายส่งให้ผู้ซื้อเพื่อเป็นการเสนอ หรือยืนยันการเสนอราคาและเงื่อนไขต่างๆ ในการขายสินค้านั้นๆ
2. Purchase Order เมื่อผู้ซื้อตกลงตามราคา และเงื่อนไขใน Proforma Invoice แล้วจะส่งหนังสือการสั่งซื้อ (Purchase Order) มาให้ผู้ขายเพื่อเป็นการตอบรับและสั่งซื้อสินค้าตามราคา และเงื่อนไขดังกล่าว
3.Sale Confirmationเป็นสัญญาการซื้อขาย ซึ่งผู้ขายส่งให้แก่ผู้ซื้อเพื่อเป็นการยืนยัน หรือตอบรับการสั่งซื้อนั้นอีก ( ซึ่งในทางปฏิบัติบางครั้งอาจจะไม่จำเป็นก็ได้ )
3. การชำระเงิน (Term of Payment)
การชำระเงินมีความสำคัญมากในการส่งออก เนื่องจากไม่ใช่เป็นการขายภายในประเทศ ที่ลูกค้าจะสามารถเลือกดูสินค้า และส่งสินค้าได้ทันที ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายอยู่ห่างไกลกันมาก หากเกิดปัญหาสินค้าไม่ตรงตามคุณภาพที่ต้องการ หรือมีปัญหาเรื่องการชำระเงินแล้ว จะมีความยุ่งยากมากในการติดตาม สำหรับการชำระเงินที่ปฏิบัติกันในปัจจุบัน มีดังนี้
การจ่ายเงินล่วงหน้า (Cash or Advance Payment) วิธีนี้ผู้ซื้อจะส่งเงิน (Bank Draft หรือการโอนเข้าบัญชีผู้ขาย) ให้แก่ผู้ขายไปก่อน เมื่อผู้ขายได้รับเงินแล้วจึงจะส่งสินค้ามาให้ผู้ซื้อ วิธีนี้ผู้ซื้อค่อนข้างจะเสียเปรียบมากหากไม่คุ้นเคยหรือรู้จักผู้ขายเป็นอย่างดี
การจ่ายเงินเชื่อ (Open Account)วิธีนี้จะตรงกันข้ามกับวิธีแรก คือผู้ขายจะส่งสินค้ามาให้ผู้ซื้อก่อนและได้รับชำระเงินจากผู้ซื้อภายหลัง ซึ่งอาจจะมีการตกลงกันว่าภายในกี่วัน เช่น 30 หรือ 60 วัน ซึ่งผู้ขายจะเป็นผู้เสียเปรียบ
Consignment เป็นการจ่ายเงินเมื่อผู้ซื้อสามารถขายสินค้านั้นได้แล้วหรือเรียกว่าการขายฝาก ซึ่งถ้าผู้ซื้อเอาสินค้าไปแล้วและยังขายต่อไม่ได้ ก็ยังไม่ต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้ขาย
Documents Against Payment (D/P) เป็นการจ่ายเงินก่อนนำเอกสารไปออกสินค้า วิธีนี้ผู้ขายจะส่งเอกสารที่ใช้ในการออกสินค้าไปให้แก่ธนาคารในประเทศของผู้ซื้อเมื่อผู้ซื้อมาจ่ายเงินค่าสินค้าที่ธนาคารแล้ว จึงสามารถเอาเอกสารนั้นไปออกสินค้าได้ ซึ่งมีทั้งการจ่ายเงินทันที (At Sight) หรือจ่ายภายหลัง (Term 30, 60 หรือ 90 วัน)
Documents Against Acceptance (D/A) เป็นการจ่ายเงินโดยผู้ซื้อรับรองตั๋วแลกเงิน แล้วนำเอกสารไปออกสินค้า วิธีนี้คล้ายกับวิธี D/P คือเอกสารทั้งหมดจะส่งให้แก่ธนาคารในประเทศของผู้ซื้อ แต่ผู้ซื้อรับรองตั๋วแกเงินแล้วนำเอกสารไปออกสินค้าได้เลย โดยยังไม่ต้องจ่ายเงินและก็อาจจะสามารถไม่จ่ายเงิน ภายหลังก็ได้
Letter of Credit (L/C) วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีและเหมาะสมมาก ไม่มีการเสี่ยงทั้งผู้ซื้อและผู้ขายโดยเมื่อมีการตกลงซื้อขายกันแล้ว ผู้ซื้อจะเปิด L/C นี้ โดยธนาคารของผู้ซื้อมายังผู้ขายโดยผ่านธนาคารของผู้ขาย โดยจะระบุเงื่อนไขต่างๆ ใน L/C นั้น และเมื่อผู้ขายได้จัดส่งสินค้าถูกต้องตามเงื่อน ไขใน L/C ให้แก่ผู้ซื้อแล้วก็สามารถนำเอกสารในการส่งออกไปขึ้นเงินกับธนาคารของผู้ขายได้
การตกลงใช้วิธีการชำระเงินต่างๆ เหล่านี้ ขึ้นกับความเชื่อถือรู้จักกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย หรือในบางกรณีขึ้นกับว่าความต้องการจะขายหรือซื้อสินค้ามากน้อยแค่ใหน เช่น ถ้าผู้ซื้อต้องการสินค้าชนิดนี้มากหรือหาซื้อไม่ได้ง่ายนัก ก็อาจจะยอมจ่ายเงินล่วงหน้ามาให้แก่ผู้ขายก่อนก็ได้
ซึ่งแต่ละวิธีก็มีความได้เปรียบเสียเปรียบหรือความเสี่ยงมากน้อยไม่เท่ากัน แต่วิธีที่นิยมใช้กันมากในการค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ซื้อและผู้ขายเพิ่งจะรู้จักกันก็คือ การเปิด L/C
4. ขั้นตอนการส่งออกเบเกอรี่ไปต่างประเทศ
การส่งออกเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนสินค้าจะถึงมือลูกค้า และก็เป็นขั้นตอนที่มีความซับซ้อนมากในขั้นตอนหนึ่ง แต่ถ้าได้มีการศึกษาและเตรียมพร้อมล่วงหน้าแล้วก็จะไม่มีความยุ่งยาก เพราะรัฐบาลเองก็ส่งเสริมให้มีการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศอยู่แล้วจึงได้พยายามลดขั้นตอนหรืออุปสรรคต่างๆ ลงเพื่อช่วยให้ผู้ส่งออกเกิดความสะดวกรวดเร็วในการจะส่งออกสินค้า โดยปกติแล้วการส่งออกสินค้าแต่ละชนิดโดยเฉพาะสินค้าที่มีการควบคุม ก็จะมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการควบคุมสินค้านั้นโดยตรง ซึ่งอาจจะเป็นหน่วยงานเดียวหรือหลายหน่วยงานก็ได้
เอกสารที่ใช้ในการส่งออกโดยทั่วไปประกอบด้วย
1. ใบขนสินค้าขาออก
2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
3. ใบอนุญาต หรือหนังสือรับรอง
4. คำร้องต่าง ๆ (ถ้ามี)
5. ใบแนบใบขนสินค้าขาออก (กรณีเป็นสินค้าที่จะขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ)
6. ใบขนสินค้ามุมน้ำเงิน (กรณีเป็นสินค้าที่ขอชดเชยอากรสินค้าส่งออก)
ขั้นตอนการส่งออกเบเกอรี่ไปในต่างประเทศกับ Thai Bakery
Thai Bakery เราสามารถออกแบบและผลิตขนมได้ทุกประเภทตามความต้องการของลูกค้าสามาถผลิตขนมนานาชาติให้กับเจ้าของแบรนด์ที่ต้องการผลิตสินค้าเพื่อจัดจำหน่ายเป็นแบรนด์ของตนเอง Thai Bakery เรารับผลิตเบเกอรี่แบบ OEM ครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการวิจัยและพัฒนาสูตรเบเกอรี่ การผลิต การขออย. และการแพ็คกิ้งสินค้า โดยทีมงานมืออาชีพของเรา เราคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นหลักเพื่อให้มีความเป็นเอกลักษณ์ของเจ้าของแบรนด์ ดังนั้นเจ้าของแบรนด์ สามารถเลือกรสชาติ รูปแบบขนม บรรจุภัณฑ์ ได้ตามความต้องการ หรือสั่งผลิตดีไซน์ในแบบของตนเองได้อย่างอิสระ และเราสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ได้ทั่วโลก โดยที่ท่านไม่ต้องเสียเวลาเดินเรื่องและทำเอกสารเอง โดยทาง Thai Bakery เราเป็นผู้ดำเนินการให้เองทั้งหมด และเรามีการผลิตที่ได้รับมาตรฐานระดับโลก จึงมั่นใจในการทำงานทุกขั้นตอนได้ผ่านการตรวจสอบและใส่ใจในการผลิตอย่างมืออาชีพ สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิกเลย
เริ่มต้น ! สร้างแบรนด์ของคุณได้ที่นี่
Facebook : https://web.facebook.com/TBGfood/
Email : taksaporn.chaya@tbgfood.co
Phone : 092-2488418